โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต

การตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นวัยรุ่น

ขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่น เมื่อเราออกแบบเสื้อผ้าเรียบร้อย จึงเริ่มวางแผนในการตัดเย็บตามขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้ ๑.การเตรียมผ้า เมื่อเริ่มต้นตัดเย็บเสื้อใหม่ ๆ ควรเลือกใช้ผ้าเนื้อธรรมดา ไม่ลื่น และไม่ใช้ผ้ายืด เป็นผ้าสีพื้น ไม่มีลวดลาย ก่อนตัดควรนำผ้าไปแช่ในน้ำเพื่อให้ผ้าอยู่ตัว และเป็นการทดสอบว่าผ้าสีตกหรือไม่ โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จึงนำขึ้นมาตากให้แห้ง 2.การสร้างแบบตัด การสร้างแบบตัดต้องวัดสัดส่วนของผู้สวมใส่ให้แม่นยำ เช่น รอบอก เอว สะโพก ขอบแขน ความกว้างของไหล่ แผ่นหลัง ถ้าต้องการตัดกางเกงขายาวทรงกระบอก ผู้ตัดต้องวัดสัดส่วนของรอบเอว รอบสะโพก ความยาวของขาตั้งแต่ส่วนบนขอบเอวถึงปลายขา (ตามความยาวที่ต้องการ) ความกว้างของปลายขากางเกง (ตามแต่ต้องการความหลวมหรือความแน่นของกางเกง) แล้วนำมาวาดแบบผ้าแต่ละชิ้นลงบนกระดาษสร้างแบบ เพื่อที่จะนำไปเป็นแบบตัดผ้า 3. การทำเครื่องหมายบนแบบตัด แบบตัดที่สร้างเสร็จแล้วควรทำเครื่องหมายกำกับไว้เพื่อให้สะดวกเมื่อลงมือตัดเย็บเครื่องหมายที่ใช้ในการตัดเย็บ เช่น 4.การวางแบบตัด มีวิธีการดังนี้ 1) สังเกตเครื่องหมายบนแบบตัด แล้ววางให้ถูกต้อง 2)รีดผ้าที่เตรียมไว้สำหรับตัดเย็บ วางแบบตัดแต่ละชิ้นลงบนผ้า เพื่อให้ผ้าตึง ไม่หย่อนหรือเป็นลูกคลื่น แล้วใช้เข็มหมุดกลัดไว้ โดยวางแบบตัดชิ้นใหญ่ก่อน เช่น วางส่วนของขากางเกงก่อนแล้วตามด้วยส่วนของกระเป๋ากางเกง ซึ่งจะช่วยประหยัดเนื้อที่บนผ้า 3) วางแบบตัดให้ครบทุกชิ้นแล้วจึงลงมือตัดผ้า เพื่อจะได้ใช้ผ้าอย่างประหยัด และแน่ใจว่าผ้ามีพอทีจะใช้ 5.การเผื่อผ้าการเผื่อผ้าคือการกำหนดขนาดของผ้าให้เกิดจากแบบตัด เพื่อใช้สำหรับเย็บตะเข็บซึ่งจะต้องกำหนดให้พอเหมาะ หากน้อยเกินไป พื้นที่ของตะเข็บจะมีน้อย ทำให้เย็บลำบาก และขาดง่ายเวลาสวมใส่ แต่ถ้ามากเกินไปชุดที่ตัดเสร็จแล้วจะหนาเทอะทะไม่สวยงาม ตัวอย่างการเผื่อผ้า เช่น เผื่อชายเสื้อ 3 – 4 เซนติเมตร ตะเข็บข้างเสื้อ 2.5 เซนติเมตร วงแขน 1.5 เซนติเมตร 6. การตัดผ้าก่อนตัดผ้าควรตรวจสอบว่าวางแบบถูกต้องทุกชิ้น และเผื่อตะเข็บผ้าเรียบร้อยแล้วจึงตัดผ้า โดยตัดผ้าให้ครบทุกชิ้น และทำเครื่องหมายบนผ้าให้ถูกต้อง เช่น การตัดกางเกงนั้นต้องใช้เครื่องหมาย ซึ่งหมายถึงการตัดผ้าตามแนวยาว 7. การกดรอย การกดรอยยาวควรเลือกกระดาษกดรอยที่มีสีใกล้เคียงกับผ้า ใช้เข็มหมุดกลัดผ้าจะกดรอย ให้ห่างจากริมเส้นแบบประมาณ 5 – 6 เซนติเมตร ถ้าใช้ผ้าด้านถูกประกบกัน ให้พับกระดาษกดรอยที่เป็นเทียนไขเข้าหากัน ถ้าใช้ผ้าด้านผิดประกบกัน ให้พับกระดาษกดรอยด้านที่เป็นกระดาษเข้าหากัน จากนั้นสอดกระดาษเข้ากลางผ้า แล้วใช้ลูกกลิ้งกลิ้งตามรอยไปมา ถ้าผ้าบางควรใช้ลูกกลิ้งปลายมน เพื่อป้องกันผ้าฉีกขาด แต่ถ้าหนาควรใช้ลูกกลิ้งฟันเลื่อย เพื่อให้มองเห็นรอยบนผ้าได้ชัดเจน 8.การเย็บผ้า การเย็บผ้าจะต้องวางแผนว่าจะเย็บชิ้นใดก่อนหลัง และเย็บส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนนำมาประกบเป็นตัวเพื่อให้งานรวดเร็ว การเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆให้เรียบร้อยจะประกอบด้วยวิธีการเย็บต่อไปนี้ 1 )เย็บกันยืด เพื่อป้องกันการยืดของผ้า เช่น บริเวณวงแขน รอบคอ 2)เย็บกันลุ่ย เพื่อป้องกันผ้าลุ่ย ( ชายผ้าคลายออกเป็นเส้นๆ เช่น ตะเข็บข้าง 3) เย็บเกล็ดใช้มือเย็บโดยเย็บจากจากเกล็ดด้านที่กว้างมายังปลายเกล็ดด้านแคบ 9.การรีด เมื่อตัดเย็บเสื้อผ้าเสร็จแล้ว ควรสำรวจความเรียบร้อยอีกครั้ง จากนั้นจึงนำไปรีเพื่อให้เสื้อผ้าคงรูปสวยงาม วิธีการรีดชุดที่เพิ่งตัดเย็บเสร็จควรรีดแบบล้มตะเข็บ เสื้อผ้าใหม่นั้นจะมีรอยตะเข็บที่หนา เช่น บริเวณด้านข้างของกางเกง เวลารีดแล้วควรกลับด้านในออก รีดในส่วนของตะเข็บให้ล้มลง เพื่อให้กางเกงไม่โป่งบริเวณสะโพกหรือขา จะให้ได้ทรงที่กระชับการตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีการวางแผนและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง จะทำให้ได้เสื้อผ้าที่สวยงาม ประณีต และตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการควรฝึกฝนตนเองให้มีความเชี่ยวชาญและพัฒนาฝีมือให้ยิ่งขึ้นรวมทั้งสำรวจตลาดละความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงกิจการของตนเอง พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นวัยรุ่น