โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต

สิ่งทอเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆในฮังการีตอนที่2

[ สถานการณ์ของบริษัทฮังการี ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายเสื้อผ้าแฟชั่น ] ลักษณะเฉพาะของธุรกิจในฮังการี จะประกอบด้วยผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมาก และผู้บริหารกิจการส่วนบุคคล จำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในสาขานี้มีมากกว่า 7000 ราย บริษัทที่ว่าจ้างพนักงานมากกว่า 20 คนในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีจำนวน 178 แห่ง และในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมีจำนวน 293 แห่ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ เช่น ลูกค้าหรือกลุ่มผู้รับสินค้า ประเภทหรือลักษณะของบริษัทในเครือ ตำแหน่งทางการตลาด และความสามารถในการสร้างสรรค์ของบริษัทที่จะปรับตัว และแก้ไขปัญหาต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว สามารถกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายเป็นสาขาที่มีการแข่งขันทั่วโลกสูงสุด และมีปริมาณเกินความต้องการของตลาด มีผลกำไรต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจากตัวสินค้า การเพิ่มมูลค่าให้ตัวสินค้านั้น ต้องมาจากการออกแบบ การพัฒนาสินค้า และการทำตลาด ในตลาดเครื่องแต่งกายฮังการี ประกอบด้วยบริษัทผู้ผลิตสิ่งทอจำนวนน้อย แต่ผู้ผลิตเครื่องแต่งกายมีจำนวนมาก ผู้ผลิตสิ่งทอต้องประสบกับปัญหาสองด้านคือ การแข่งขันกับสินค้านำเข้าราคาถูก และการปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ในสาขาเครื่องแต่งกาย บริษัทขนาดกลางและใหญ่ ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 100 คน ต่างเป็นบริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติทั้งสิ้น บริษัทขนาดเล็ก (มีพนักงาน 50-100 คน) ไม่มีสายป่านยาว ทำงานด้วยนักออกแบบของตนเอง และสร้างคอลเลคชั่นตามฤดูกาล ณ ปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่ผันตัวเองไปเป็นเพียงซัพพลายเออร์ ผลิตสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆให้กับบริษัทขนาดใหญ่ เพราะเป็นวิถีทางที่จะช่วยให้กิจการขนาดเล็กสามารถอยู่รอดได้ [ การตลาด ] การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการค้าเช่นกัน รูปแบบบริษัทในเครือที่สืบต่อกันยาวนานทั้งค้าปลีกและค้าส่ง ต่างสูญหายหรือต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ แม้กระทั่งธุรกิจส่วนตัวของนักลงทุนต่างชาติ (เช่นบริษัทของออสเตรีย Kleider Bauer ) ก็ต้องล้มเลิกกิจการ การทำธุรกิจมีทั้งความเสี่ยงในด้านปัญหาภาษีศุลกากร ตามกระแสสินค้านำเข้าจากกลุ่มสหภาพยุโรป และปัญหาสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ทั้งหมดนี้ ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าตามห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ตลาดรวม ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทค้าปลีกในเครือที่มีชื่อเสียงมากมาย เข้ามาทำตลาดในฮังการี เช่น สะวิสเซอร์แลนด์ , สะวีเดน , เยอรมนี และ Zara สเปน