โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต
ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆสำเร็จรูปในสิงคโปร์
1) สถานการณ์ทั่วไป อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นภายในสิงคโปร์ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการผลิตสินค้าอย่างครบวงจรไปเป็นศูนย์ แฟชั่นภูมิภาคและศูนย์กลางจัดหา/จัดซื้อและการพัฒนาสินค้าเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและค่าจ้างแรง งานสูงมาก ทำให้โรงงานผลิตย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ กัมพูชา อินเดีย ลาว และพม่า เป็นต้น ปีในยุคโลกาภิวัฒน์การออกแบบและแฟชั่นครอบคลุมไปทั่วโลก เสื้อผ้าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัว บ่งชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้เสื้อผ้าสตรีและบุรุษมีการแข่งขันกันสูงขึ้น อีกทั้งจำนวน ประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้หลายๆประเทศส่งออกต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อครองส่วนแบ่งตลาดเสื้อผ้าเครื่อง แต่งกายที่เป็นBrandของตนเอง สิงคโปร์ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องแต่ง กายดัง จะเห็นได้จากการที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำและHypermarketในสิงคโปร์จัดแสดงสินค้าเสื้อผ้าในพื้นที่ เพิ่มขึ้น รวมทั้งประชากรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากขึ้น 2) พฤติกรรมผู้บริโภค / ราคา เนื่องจากอากาศในสิงคโปร์ร้อน-ชื้น เช่นเดียวกับ ประเทศไทย ดังนั้นพฤติกรรมผู้บริโภคนิยมเสื้อผ้าดังนี้ (2.1) นิยมเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าฝ้ายหรือผ้าชนิดบางที่ง่ายต่อการดูแลรักษา และสวมใส่สบาย (2.2) รูปแบบตามสมัยนิยม ที่เรียบง่าย ดูดี สีไม่ฉูดฉาด (2.3) สีอยู่ในระดับโทนสีอ่อนสำหรับผู้ชาย และสีต่างๆจากระดับโทนสีอ่อนจนถึงโทนสีเข้มสำหรับผู้หญิง (2.4) ผู้หญิงชอบซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆบ่อยครั้ง มากกว่าผู้ชาย (2.5) ราคา : เสื้อ 29-129 เหรียญสิงคโปร์, เสื้อยืด 29-60 เหรียญฯ, กระโปรง 39-139 เหรียญฯ, กางเกง 69-139 เหรียญฯ และแจ๊คเก็ต 120-399 เหรียญฯ 3) ความนิยมของสินค้า (3.1) ผู้หญิงนิยมแต่งกายแบบเรียบๆ แต่มีสไตล์ เสื้อผ้าสีขาวดำจะเป็นที่นิยมมาก และสีโทนอ่อน เช่น ขาว น้ำตาล เทา ชมพูอ่อน ฟ้าอ่อน ส่วนใหญ่เสื้อผ้าทำงานสีสันจะไม่ฉูดฉาด แต่เสื้อผ้าสำหรับออกงานกลางคืนหรืองานปาร์ตี้ จะมีสีสันฉูดฉาด (3.2) ผู้ชายจะนิยมเสื้อผ้าแบบเรียบง่าย สีอ่อนๆ ไม่นิยมสีฉูดฉาด (3.3) ชาวสิงคโปร์นิยมสินค้าราคาถูก คุณภาพดี และจะซื้อมากขึ้นในช่วงที่มีการโฆษณาหรือ โปรโมชั่นต่างๆ ที่ราคาลดลงจากปกติ เพราะจะรู้สึกว่าคุ้มค่า 4) ช่องทางการจัดจำหน่าย ห้างสรรพสินค้าต่างๆ (Department Stores) เช่น Takashimaya, Paragon, Robinson, OG, Mustafa, Tangs, Isetan, Vivo City และอื่นๆ ส่วน Hypermarket และร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นทั่วไป เช่น Giant, Carrefour และร้านปลีกย่อยต่างๆ 5) ระเบียบการนำเข้า นำเข้าได้เสรี โดยบ่งบอกคุณสมบัติสำหรับขนาด รูปร่าง และวัสดุที่ใช้ 6) ภาษี ไม่มีการเรียกเก็บภาษีขาเข้า ภาษีที่เรียกเก็บคือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax : GST) ร้อยละ 7 (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550)