โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต
อุตสาหกรรมขายเสื้อผ้าแฟชั่นในฮ่องกง
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ให้ฮ่องกงรายได้โดยรวมในปี 2003 จำนวน 35.91พันล้านเหรียญฮ่องกง ในปี 2005 ถึงปัจจุบัน ( มิย 2548 ) มีโรงงานผลิตประมาณ 1674โรง คนงานจำนวน 28752คน ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2005 มีปริมาณการส่งออกที่ผลิตภายในประเทศประมาณ 40% โรงงานผลิตเสื้อผ้าของฮ่องกงส่วนใหญ่จะอยู่ในต่างประเทศ เหตุผลเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ฮ่องกงไม่ใช่เป็นผู้นำด้านการผลิตอย่างเดียว แต่เป็นจุดศูนย์กลางของแหล่งที่มาของเสื้อผ้าจากทั่วโลก นักธุรกิจที่ทำเสื้อผ้าในฮ่องกงมีประสบการณ์ในการเลือกซื้อผ้า ขาย และการตลาด ตลอดจนคุณภาพสินค้าและการขนส่ง รวมทั้งการออกแบบเสื้อผ้าและรู้กฎ ระเบียบทางด้านการค้าต่างประเทศ ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2005 ฮ่องกงมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 9% ขณะที่ re-exports เพิ่มขึ้น 20% และการส่งออกที่ผลิตภายในลดลง 14% ตรงกันข้ามฮ่องกง re-exports และการผลิตภายในประเทศ เป็นการเพิ่มขึ้นจากโรงงานที่ย้ายไปอยู่ที่จีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้มีการโยกย้ายโควตา ภายใต้ข้อตกลงของ WTO(Agreement on Textiles and Clothing(ATC) ฮ่องกงมีปริมาณการส่งออกไปสหภาพยุโรป(EU) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปีที่แล้วเพิ่มขึ้น18% โดยส่งออกไปที่ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2005 ฮ่องกงมีตัวเลขการส่งออก woven wear เพิ่มขึ้น 12% เสื้อผ้าสตรี/เด็กผู้หญิงเพิ่มขึ้น 13% สำหรับเสื้อผู้ชายและเด็กเพิ่มขึ้น 8% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วน Knitted wear ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 2% และเสื้อผ้าสตรี/เด็ก และเสื้อผ้าผู้ชาย/เด็กเพิ่มขึ้น 1 % และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่เครื่องประดับประกอบเสื้อผ้าปริมาณการส่งออกลดลง 3% และอื่นๆ เพิ่มขึ้น 13% [ช่องทางการจำหน่าย] ผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆในฮ่องกงมีความสัมพันธ์ และยังมีความเข้าใจลูกค้า และเป็นจุดรวมของแหล่งต่างๆ เนื่องจากความเข้าใจและรู้กฎระเบียบการค้าเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอ เช่น แหล่งกำเนิดสินค้า โควตา ภาษี และเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นประกอบการส่งออกและนำเข้า ตลอดจนการพัฒนาด้านการออกแบบ เพื่อปรับปรุงสินค้าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพขณะที่เป็นศูนย์กลางแหล่งกำเนิดเสื้อผ้า ที่มีจำนวนผู้ค้าจากหลายประเทศ ตลอดจนงานแสดงสินค้าและนิทรรศการสำหรับการพบปะระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจากทั่วโลก เช่นงาน Hong Kong Fashion Week ที่จัดปีละ 2 ครั้ง(กลางเดือนมกราคม/กรกฎาคม) และงาน World Boutique จัดขึ้นสำหรับส่งเสริมนักออกแบบเสื้อผ้าและ Brand จากแฟชั่นทั่วโลก [ แนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม] ผู้ค้าปลีกในฮ่องกงมีการปรับปรุงภาพลักษณ์ของสินค้า และสินค้า brand name ที่มีความต้องการและมีความสนใจของตลาดภายในประเทศจีน เช่น เสื้อผ้าชุดลำลองที่ได้รับความสนใจสูงจากตลาดจีน Formal Dressing เป็นแนวแฟชั่นที่ยังคงความต้องการสูง โดยเฉพาะเสื้อผ้าประเภท เสื้อสูท รวมทั้งเสื้อผ้า cotton ระหว่างสิ้นปี 2547 และต้นปี 2548 มีปริมาณสูง38.5%รับความนิยมจากผู้ทำงานและเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาปริมาณเพิ่มขึ้น6.6% Teenagerเป็นแฟชั่นที่รับความนิยมสูงในปีต่อไป(2006)จำนวนวัยรุ่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นจากปี 2001 เพิ่มสูงถึง31.7คาดว่าในปี 2010 ถึง 35.1 ล้านคน Silver Market เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นอินเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในวัยสูงอายุ เช่นในยุโรป ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยมองด้านการประหยัด แต่บุคคลเหล่านี้ก็ยังคงมีอำนาจในการใช้จ่าย