โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต

สิ่งทอเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆในฮังการีตอนที่3

[ ช่องทางการนำสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นเครื่องแต่งกายสู่ผู้บริโภค ] ตัวแทนจำหน่าย (Agent) (X) ได้รับข้อเสนอจากซัพพลายเออร์ต่างชาติ และดำเนินการขายสินค้าตามข้อสัญญาทางธุรกิจ (X) ผู้นำเข้าหรือผู้ค้าส่ง (Importer or wholesaler) ช่องทางนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ความแตกต่างระหว่างทั้งสองคือ ผู้ค้าส่งซื้อสินค้าโดยตรงจากซัพพลายเออร์ในประเทศ ขณะที่ผู้นำเข้ามีหุ้นส่วนทางธุรกิจในต่างประเทศ การทำงานของผู้ค้าส่ง โดยปกติแล้วจะทำตัวอย่างส่งไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลังจากนั้นลูกค้าจะมาเยี่ยมชมที่คลังสินค้า และทำการซื้อขายสินค้า การทำงานของผู้นำเข้าและค้าส่ง มีการจ้างนักท่องเที่ยวให้นำสินค้าที่หลากหลายจากแหล่งผลิต มาเสนอขายแก่พวกเขาเหล่านั้น (X) ผู้ผลิต (Makers/producers) โดยปกติแล้ว จะมีร้านขายส่งหรือร้านขายสินค้าจากโรงงานของตัวเอง ซึ่งก็คือคลังสินค้าที่ประกอบด้วยร้านขายปลีกขนาดใหญ่ 2-3 แห่ง (X) ผู้ค้าส่งหลายรายจะร่วมทำธุรกิจเฉพาะกับตัวแทนจำหน่ายแห่งภูมิภาคเท่านั้น (X) ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อ “ราคา การออกแบบ คุณภาพ ความพึงพอใจ และรสนิยม” [ ราคา ] มีการแข่งขันที่รุนแรงมากในตลาดเครื่องแต่งกาย จึงไม่มีบริษัทที่ผูกขาดการครองตลาด ดังนั้น ราคา จึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอและปริมาณที่ต้องการซื้อ โดยปกติแล้ว ข้อเสนอมักเกินกว่าความต้องการสินค้า รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำเข้าอย่างเสรีจากประเทศในเขตอียู [ การออกแบบ] คุณภาพ ความพึงพอใจ และรสนิยม มีความแตกต่างอยู่สองแนวทาง แบบแรกคือ แนวอนุรักษ์นิยม (เกือบทั้งหมดเป็นลักษณะเฉพาะของผู้ผลิตจากเยอรมนี) แบบที่สองคือ แนวหนุ่มสาว (เป็นลักษณะของผู้ผลิตจากอิตาลี และ ฝรั่งเศส) ในแนวอนุรักษ์นิยมจะใช้วิธีผลิตสินค้าเป็นปริมาณมาก และตั้งราคาในระดับปานกลาง ส่วนในแนวหลังจะผลิตสินค้าจำนวนน้อย แต่ตั้งราคาที่สูงกว่า [ประเทศคู่แข่งขัน ] (X) จีน คือคู่แข่งขันที่ใหญ่สุด การออกแบบ และคุณภาพสินค้าต่ำ แต่ราคาถูกมาก เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก (X) ตุรกี สินค้ามีคุณภาพดีกว่า และผลิตจำนวนน้อยกว่าจีน จึงเหมาะสมสำหรับการส่งออก (X) สมาชิกอียู เช่น อิตาลี สเปน มีข้อได้เปรียบในการขยายระยะเวลาการจ่ายเงิน (long term credits) แก่ลูกค้าที่มีศักยภาพ (ตามข้อมูลบริษัทประกันภัยสินเชื่อในประเทศนั้นๆ) ซึ่งต่างจากผู้ส่งออกของไทยที่ไม่สามารถเสนอเงื่อนไขนี้ได้