โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต

การไหม้แดด (Sunburn Reaction)

การไหม้แดด (Sunburn Reaction)-เกิดจากผิวหนังได้รับแสงแดดในปริมาณที่มากเกินไป โดยเป็นผลจากแสงในช่วงของยูวีบี ต่อผิวหนังในชั้นหนังกำพร้า ทำให้เซลล์บวมและมีการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสของเซลล์ได้ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังใน ภายหลังได้-มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะภายใน 2-6 ชั่วโมงแรก หลังจากถูกแดด เช่น หลังการอาบแดด-มีอาการแดง และอาจมีอาการบวม หรือ ปวดแสบร้อน บริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดดจัด หากมีอาการรุนแรงอาจพบตุ่มพองเกิดขึ้นได้ และอาจมีการลอกของผิวหนังตามมา-ผู้ที่มีปริมาณเม็ดสีน้อย จะมีสีผิวขาว และมีแนวโน้มที่จะเกิดการไหม้แดดได้ง่ายกว่าคนสีผิวคล้ำและผู้ที่มีสีผิวเข้ม ผิวจะเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เร็ว และมีแนวโน้มในการไหม้แดดน้อยกว่าผิวชนิดอื่นๆผลเสียต่อผิวหนังและร่างกายในระยะยาวมีอาการเกิดขึ้น ได้แก่1.สีผิวคล้ำขึ้น (tanning) เกิดจากมีการผลิตและกระจายของเม็ดสีมากขึ้น เพื่อป้องกันนิวเคลียสของเซลล์ผิวหนัง จากอันตรายของแสงแดด2.เป็นสาเหตุ หนึ่งของ Photoaging หรือ Extrinsic aging (การแก่ของผิวหนัง) ทำให้ผิวหนังมีรอยย่นก่อนวัย หยาบกร้าน ไม่สม่ำเสมอ เป็นฝ้า กระ3.เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง แม้ว่าการเกิดมะเร็งผิวหนังจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ในปัจจุบันเชื่อว่า ผิวหนังที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการสะสมของแสงยูวีในระยะยาวอาจก่อให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้4.ทำให้ภูมิคุ้มกันของผิวหนังลดลง ซึ่งเชื่อว่าทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไปลดลงด้วย ในบางคนอาจมีแผลร้อนในในปาก หลังจากถูกแสงแดดมากรวมทั้งโรคติดเชื้อบางอย่าง อาจมีอาการกำเริบขึ้น เช่น อีสุกอีใส เริม เป็นต้น5.ผู้ป่วยโรคผิวหนังบางชนิด จะมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าคนปกติ เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด เป็นประจำ6.ยูวีบี มีอันตรายต่อดวงตา (cornea,lens and retina)แต่ถ้าได้รับมากเกินไป-ใน ระยะสั้น สามารถเกิด Photokeratitis หรือ "Snow-blindness"-ในระยะยาว ถ้าได้รับสะสมมากเกินไป ทำให้เกิดต้อกระจกได้ และยังพบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของสายตาสั้นในคนสูงอายุได้ (age-related near-sightedness)วิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงแดด-แม้จะอยู่ในอาคาร ในที่ร่ม ในวันที่ดูเหมือนมืดครึ้ม หรือเวลาไปเที่ยวชายหาด ก็ต้องป้องกันเสมอ และจำเป็นสำหรับคนทุกอายุ -หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะในช่วง 10.00-15.00 น.-ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เสื้อที่หนาและหลวมๆ และผ้าฝ้ายจะป้องกันรังสีดีกว่าผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์-ควรใช้อุปกรณ์ช่วยกำบังแสงแดด เช่น ใส่หมวกปีกกว้าง (ต้องมีขอบหรือปีกกว้างขนาดอย่างน้อย 4 นิ้ว)-เลือกใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสม สามารถป้องกันทั้ง ยูวรเอ และ ยูวีบี และทาอย่างถูกวิธี-แม้จะทาครีมกันแดดก็ไม่ควรออกแดดเกิน 30 นาที-ยาบางชนิด จะทำให้ผิวหนังไว้ต่อแสงแดดมากขึ้น หากเป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอยู่ ควรป้องกันแสงแดดมากขึ้น