โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต
ธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่น 2
สำหรับสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นเก่าที่ล้าสมัยเกิดจากการหมุนเวียนสินค้าไม่ตรงตามฤดูการขายการนำเข้าสินค้าล่าช้าทำให้เสียโอกาสในการขาย อีกทั้งมีความถี่จากการรับคืนสินค้าซึ่งเกิดจากการนำส่งสินค้าเข้าเพื่อขายตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ ในปริมาณที่มากเพื่อเป็นจุดสนใจในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าแต่มีความเสี่ยงต่อการขายถ้าหากยอดการขายไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือลดต่ำลงก็จะเกิดสินค้าคงเหลือในปริมาณที่มากเช่นกันสำหรับสินค้าเก่าและล้าสมัยบริษัทฯได้จัดตั้งสำรองสินค้าเสื่อมสภาพประมาณปีละ 5- 10 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ทุกๆปีบริษัทมีการจัดมหกรรมลดราคาสินค้าตามโชว์รูมทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัดรวม 9 แห่ง เพื่อเป็นการระบายสินค้า สินค้าคงเหลือของบริษัทมี 93% เป็นสินค้าจำพวกสิ่งทอมีอายุการใช้งาน 10 ปี และสินค้าคงเหลือ 7 % เป็นสินค้าจำพวกเครื่องสำอางซึ่งมีอายุการใช้งาน 2-3 ปี ณ. 31 ธันวาคม 2553 บริษัทมีสินค้าขายเสื้อผ้าแฟชั่นคงเหลือจำพวกสิ่งทอรวมเป็นจำนวนเงิน 211.15 ล้านบาท และสินค้าคงเหลือจำพวกเครื่องสำอางรวมเป็นจำนวนเงิน 15.49 ล้านบาท รวมเป็นสินค้าคงเหลือทั้งสิ้นจำนวน 226.64 ล้านบาทซึ่งนำมาเทียบกับปี 2552 ลดลง 7.44 ล้านบาท เทียบเป็นร้อยละ 3.18 ความเสี่ยงต่อการขาดทุนจากผลการดำเนินงาน การกำหนดทิศทางการดำเนินงานในแต่ละปีบริษัทได้ตั้งเป้าหมายการขายเพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานของปีก่อนและนำไปปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่วางไว้ และนำมาเปรียบเทียบกับการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินผล และวัดค่า การกำหนดเป้าหมายบริษัทได้วางแผนล่วงหน้าตลอดทั้งปีเป็นบวก หากเกิดผลกระทบต่อปัจจัยภายนอกที่บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม เช่น กลไกของตลาดเป็นลบ ภาวะเศรษฐกิจที่ผันแปรและถดถอย เหตุการณ์ไม่สงบในเรื่องการเมือง การชุมนุมประท้วง การก่อการร้าย และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศและ นอกประเทศ เป็นเหตุการณ์ที่ยากยิ่งที่อาจคาดการณ์ในสถานการณ์นั้น ๆ ได้บริษัทอาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานที่ขาดทุนได้ เพราะบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการตั้งเป้าหมายการขายที่เพิ่มขึ้น สำหรัปปี 2553 ได้รับผลกระทบต่อการชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม 2553 ส่งผลต่อยอดการขายลดลงประมาณ 10 ล้านบาท และเสียหายจากสินค้าที่ถูกไฟไหม้ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นจำนวน 2.25 ล้านบาท บริษัทไม่สามารถหามาตรการป้องกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกได้ แต่บริษัทได้เตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทำวิกฤตให้เป็นโอกาสและนำพาองค์กรให้ดำรงอยู่ได้ต่อไป ความเสี่ยงต่อมาตรฐานการบัญชีสากล มาตรฐานการบัญชีสากล (International Financial Reporting Standards: IFRS) ฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์พนักงาน ซึ่งบริษัทต้องรับรู้ภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากผลประโยชน์ของพนักงานโดยใช้สมมติฐานที่ประมาณขึ้นตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย บริษัทได้ว่าจ้าง Dr. วีณา ฉายศิลป์รุ่งเรือง (ASA) จากสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ NIDA CONSULTING CENTER เป็นผู้คำนวณผลประโยชน์พนักงานตามกฏหมายผลปรากฏว่าภาระหนี้สินจากผลประโยชน์สะสมของพนักงานถึงสิ้นปี 2553 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 11.19 ล้านบาท และบริษัทมีภาระที่รับรู้ค่าผลประโยชน์ของพนักงานเป็นค่าใช้จ่ายรายปีตั้งแต่ปี 2554-2556 เป็นจำนวนเงินประมาณ 1.22.00 ล้านบาท 1.32 ล้านบาท และ 0.81 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทเลือกแนวทางการบันทึกบัญชีรับรู้ภาระหนี้สินสะสมของพนักงานถึงสิ้นปี 2553 มีจำนวนรวม ทั้งสิ้น 11.18 ล้านบาท โดยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยเริ่มบันทึกในปี 2554-2558 ส่งผลต่อกำไรในแต่ละปี ลดลง