โลกแห่งการค้นหา..เพื่อชีวิต
ธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่น
ปัจจัยความเสี่ยงอาจจะเกิดขึ้นได้ในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นของบริษัทฯพอสรุปได้ดังนี้ [1] ความเสี่ยงต่อประเภทธุรกิจหลัก บริษัทดำเนินธุรกิจหลักประเภทสินค้าแฟชั่นการแต่งกายสำหรับสตรีและบุรุษเป็นธุรกิจทีมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัยอยู่เสมอ มีการแข่งขันด้านสินค้าและราคาอย่างรุนแรง สินค้าที่จัดวางเพื่อจำหน่ายมีความหลากหลายและมากเกินกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกิดการแย่งครองส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยส่งผลให้สินค้ากลุ่มแฟชั่นลดต่ำลง อีกทั้งมีอิทธิพลต่อสินค้าล้าสมัยส่งผลต่อการเก็บสต็อกเพิ่มขึ้น สำหรับบริษัทได้มีความระมัดระวังและอดทนในการดำเนินธุรกิจประเภทสิ่งทอจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจประเภทนี้มาเป็นระยะเวลากว่า40ปีสิ่งที่บริษัทฯสามารถดำรงอยู่ได้คือการพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองและเสริมสร้างความแข็งแรงของตราสินค้าซึ่งบริษัทมีตราสินค้าเป็นที่รู้จักในวงการเสื้อผ้าแฟชั่นอินเทรนด์สตรีอย่างแพร่หลายคือตราเชอรี่ล่อนมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพสินค้าและราคาปัจจุบันได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบซื้อมาขายไปไม่เก็บสต็อกการพัฒนาสินค้าในแต่ละแบบมีจำนวนจำกัดแต่มีแบบสินค้าให้เลือกหลากหลายเพื่อป้องกันสินค้าล้าสมัย ในแต่ละปีบริษัทได้พัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นช่องทางการขยายฐานการจำหน่ายสินค้าให้มากเพื่อนำพาให้เกิดยอดการขายที่สูงขึ้นในแต่ละปี [2].ความเสี่ยงต่อสินค้าคงคลัง บริษัทฯประกอบธุรกิจแบบซื้อมาขายไปประเภทสิ่งทอจำพวกสินค้าแฟชั่นการแต่งกายสำหรับบุรุษและสตรีมีสินค้าไว้เพื่อรอการจำหน่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเพียงพอและสินค้ากลุ่มขายเสื้อผ้าแฟชั่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีความเสี่ยงในสินค้าคงค้างที่ไม่สามารถจำหน่ายได้และล้าสมัยบริษัทมีความตระหนักถึงเรื่องนี้และมีความรับผิดชอบและป้องกันการเกิดสินค้าที่ล้าสมัย โดยมีการบริหารการจัดการเกี่ยวกับสินค้าดังนี้ {= สำหรับสินค้าที่นำเข้าใหม่ =} บริษัทฯมีการวางแผนการสั่งซื้อสินค้าให้สอดคล้องกับเป้าหมายการขายและกำหนดแผนการสั่งซื้อสินค้าไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ Supplierจัดส่งสินค้าให้ทันตามกำหนดระยะเวลาและบริษัทได้จัดส่งสินค้าที่นำเข้าใหม่นี้ให้แก่ลูกค้าทันที ไม่มีสินค้าเก็บสต็อก {=สำหรับสินค้าที่รับคืนจากร้านค้า=} บริษัทได้จัดสถานที่รับคืนโดยแยกเป็นสัดส่วนเพื่อตรวจสอบและตรวจนับพร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุงสินค้าให้อยู่ในสภาพปกติการรับคืนสินค้ามีการเก็บสต็อก สินค้าจากการรับคืนประมาณ60-80%เกิดจากการร่วมกับห้างสรรพสินค้าลดราคาในเทศกาลและกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีกำหนดระยะเวลาและหรือเช่าพื้นที่เพื่อการจัดจำหน่ายตามสถานที่ขายอื่น ๆ นอกจากนี้มีการร่วมลดราคาสินค้ากับภาครัฐและเอกชน (ติดตามตอนต่อไป)